สะเดา

 

ชื่อวิทยาศาสตร์            Azadirachta indica A. Juss.

วงศ์                              Meliaceae

ชื่อพ้อง                         Antelaea azadirachta (L.) Adelb., Azadirachta indica A. Juss. var. siamensis Valeton, A.  indica A. Juss. var. siamensis Backer, A.  indica A. Juss. var. minor Valeton, A.  indica A. Juss. var. minor Backer, Azedarach fraxinifolia Moench,           
Melia azadirachta
L.

ชื่ออื่นๆ                        กะเดา ควินิน สะเดาบ้าน สะเดาอินเดีย สะเลียม Margosa, Neem, Neem tree, Nim

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

1.  การทดสอบความเป็นพิษ

          มีการศึกษาส่วนต่างๆ ของสะเดา และพบพิษดังนี้

เมื่อป้อนสารสกัดจากเปลือกและใบสะเดาด้วย 70% เอทานอล ให้กับหนูถีบจักรทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร พบว่าขนาดที่ทำให้สัตว์ทดลองตายเป็นจำนวนครึ่งหนึ่ง (LD50) มีค่าเท่ากับ 13 ./กก. (1) สารสกัดใบด้วยน้ำร้อน เมื่อฉีดให้กับหนูตะเภาทั้งเพศผู้และเพศเมีย ทางหลอดเลือดดำ ในขนาดมากกว่า 40 มก./กก. พบว่าทำให้เกิดพิษ (2) และเป็นพิษต่อคนเมื่อรับประทานในขนาด 100 มล. (3) เมื่อป้อนสารสกัดใบด้วย 95% เอทานอล ให้กับหนูถีบจักร ในขนาด 10 ./กก. (4) และเมื่อป้อนสารสกัดใบ กิ่ง ด้วยคลอโรฟอร์ม เฮกเซน หรือน้ำ ให้กับกระต่ายทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร ในขนาด 1.6 ./กก. (5) พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ และเมื่อป้อนสารสกัดใบด้วยเอทานอล 70% ให้กับหนูขาวเพศผู้กิน พบว่ามีค่า LD50เท่ากับ 4.57 ./กก. (6) สารสกัดจากใบ เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูขาวเพศผู้ พบว่ามีค่า LD50เท่ากับ 4.57 ./กก. (7) เมื่อผสมใบสะเดาลงในอาหารให้แพะและหนูตะเภากินติดต่อกันนาน 8 สัปดาห์ พบว่าทำให้เกิดพิษเช่นกัน (8) สารสกัดเมล็ดสะเดาด้วย 90% เอทานอล เมื่อฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนังของหนูขาวเพศเมีย ในขนาด 0.1 มล./ตัว พบว่าทำให้เกิดพิษ ซึ่งพบพยาธิสภาพที่ตับและไตคือ ปริมาณกลัยโคเจนในตับและไตลดลง แต่เพิ่มขึ้นที่ต่อมหมวกไต จำนวนโปรตีน และ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้นที่ต่อมหมวกไต แต่ที่ไตลดลง มีอาการบวมที่ตับ และไตขาดเลือดไปเลี้ยง (9) สารสกัดเมล็ดสะเดาด้วยเอทานอล:น้ำ (1:1) เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักรทั้งเพศผู้และเมีย พบว่ามีค่า LD50เท่ากับ 68 มก./กก. (10) น้ำมันจากเมล็ดสะเดา เมื่อใช้ทาที่ผิวหนังของกระต่าย ทั้งเพศผู้และเมีย ในขนาด 2.0 มล./วัน พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ แต่เมื่อป้อนน้ำมันจากเมล็ดให้กับหนูถีบจักรทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร ในขนาด 14.45 ./กก. พบว่าทำให้เกิดพิษ (11) และน้ำมันจากเมล็ดสะเดาเมื่อผสมลงในอาหาร ในขนาด 10% ของอาหาร และให้หนูขาวกิน (12) และเมื่อทดสอบในคนเพศหญิง โดยให้น้ำมันจากเมล็ด ในขนาด 3 มล. เข้าทางมดลูก (13) พบว่าไม่ทำให้เกิดพิษ แต่อย่างไรก็ตามมีรายงานว่า ชายอายุ 60 ปี รับประทานน้ำมันจากเมล็ดสะเดา 60 มล. พบว่าทำให้เกิดพิษ โดยพบพยาธิสภาพที่สมอง ระบบประสาท และสภาพด้านจิตใจเปลี่ยนไป (14) น้ำมันจากเมล็ดสะเดาเมื่อป้อนให้กับกระต่าย และหนูขาว ทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร พบว่ามีค่า LD50เท่ากับ 24 และ 14 มล./กก. ตามลำดับ (15) เมื่อให้ส่วนเนื้อในเมล็ดแทนที่ถั่วเหลืองและรำข้าวในอาหารไก่พันธุ์ Leghorn layer ขนาด 150, 200 ก./กก. เป็นเวลา 12 สัปดาห์ พบว่าทำให้การกินอาหารของไก่ลดลง การผลิตและน้ำหนักของไข่ลดลง นอกจากนี้ยังมีผลกระทบกับการผสมพันธุ์และวางไข่ด้วย (16) มีการทดสอบความเป็นพิษในปลาแซลมอนของสารสกัดที่มีความบริสุทธิ์ 49% พบค่า LD50 >4 มก./ล.(17) และยังมีการทดสอบพิษของผงจากส่วนเมล็ดในปลาน้ำจืด พบค่า LD50 1.33, 1.25, 1.22 และ 1.05 ก./ล. เมื่อให้ปลาดังกล่าวสัมผัสเป็นเวลา 24, 48, 72 และ 96 ชั่วโมงตามลำดับ (18นอกจากปลาแล้ว ยังมีการทดสอบความเป็นพิษของสาร tetranortriterpenoids จากสะเดาในปูซึ่งพบค่า LD50คือ 250 ppm (19)

กากเมล็ดที่เหลือหลังจากบีบน้ำมันแล้วไม่พบพิษ เมื่อผสมลงในอาหาร 84% ให้หนูขาวกิน (20) สารสกัดกากเมล็ดด้วย 95% เอทานอล เมื่อผสมลงในอาหาร 20% ให้แกะกิน ไม่พบพิษ แต่ถ้าผสมในขนาด 30% ของอาหาร ทำให้เกิดพิษ (21) และมีรายงานความเป็นพิษในสุนัขที่กินผลสะเดา พบว่าทำให้สุนัขน้ำลายฟูมปาก อาเจียน ท้องเสีย ชัก และตายในที่สุด หลังจากกินผลสะเดาไปได้ 48 ชั่วโมง (22)

สารสกัดกิ่งหรือเนื้อไม้ด้วย 50% เอทานอล เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่ามีค่า LD50 มากกว่า 1 กก./กก. (23) สารสกัดจากดอกด้วยเอทานอล:น้ำ (1:1) เมื่อฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง หรือป้อนให้ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในหนูถีบจักร ขนาด 10./กก. ไม่ทำให้เกิดพิษ (24)

สารสกัดจากราก ใบ เนื้อไม้ เนื้อผล และเมล็ด ด้วย 50% เอทานอล เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 681 มก./กก. (23) สารสกัดเปลือกต้นด้วยเอทา-นอล:น้ำ (1:1) เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร พบว่ามีค่า LD50 มากกว่า 1./กก. (25)

2.  พิษต่อระบบสืบพันธุ์

          สารสกัดของใบสะเดา ในกลุ่ม steroid เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูขาวพันธุ์วิสตาร์ ขนาด 100 มก./กก. สัปดาห์ละ 2 ครั้ง นาน 10 สัปดาห์ พบว่าสารสกัดใบสะเดาจะไปทำลายการแบ่งตัวของอสุจิ และเพิ่มจำนวนของอสุจิที่ไม่สมบูรณ์ (ไม่มีหัว) และมีผลลดการเคลื่อนที่ของอสุจิในส่วนหาง ทำให้โอกาสการมีลูกลดน้อยลง แต่เมื่อป้อนสารสกัดน้ำจากใบสะเดา ความเข้มข้น 0.8% ให้กับหนูนาน 7 สัปดาห์ พบว่ามีผลทำให้ฮอร์โมน testosterone ในกระแสเลือดลดลง แต่ไม่มีผลต่อการมีลูก (26) และเมื่อเร็วๆนี้ พบว่าสารสกัดจากส่วนใบยังทำให้โครงสร้างและจำนวนของ spermatocyte chromosome เปลี่ยนแปลงอีกด้วย (27) นอกจากนี้ยังพบฤทธิ์ต้านเอนโดรเจน (anti-androgenic) ของใบสะเดาในหนูขาว เมื่อให้เป็นเวลา 48 วัน พบว่าความสามารถและความเร็วในการเคลื่อนที่ของตัวอสุจิลดลง และพบความผิดปกติของตัวอสุจิมากขึ้นด้วย (28)

          พบฤทธิ์ในการยับยั้งการสร้างตัวอสุจิเมื่อให้หนูขาวเพศผู้กินใบสะเดา ขนาด 20-60 มก. (29) 100 มก. (30) เมื่อให้เป็นเวลา 24 วัน และหากให้น้ำมันจากเมล็ด ขนาด 50 มคก. ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน (31) นอกจากฤทธิ์ในการยับยั้งแล้ว ยังมีฤทธิ์ในการฆ่าตัวอสุจิ เมื่อให้หนูขาวกินสารสกัดเอทานอล 80% ของใบแห้งขนาด 100 มก./กก. ทุกวันเป็นเวลา 21 วัน (32) และถ้าให้น้ำมันจากเมล็ดขนาด 0.25, 25 มก./มล. ก็ให้ผลเช่นเดียวกัน (33) ซึ่งนอกจากการทดลองในหนูแล้ว ยังมีการศึกษาพบฤทธิ์ดังกล่าวในลิงเช่นกัน (34, 35) และหากใช้กับช่องคลอดของลิงเพศเมีย ขนาด 1 มล. ก็สามารถฆ่าตัวอสุจิได้ (36) ซึ่งอาจเป็นผลดังกล่าว จึงมีการทดลองถึงฤทธิ์ในการคุมกำเนิด โดยพบฤทธิ์ยับยั้งการมีลูกในสารสกัดด้วยน้ำจากส่วนใบ เมื่อให้แก่หนูถีบจักร (37, 38) ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถหมดไปได้เมื่อหยุดใช้ (38) สำหรับการทดลองในคน น้ำมันจากเมล็ดขนาด 0.25, 25 มก./มล. (33) มีฤทธิ์ในการฆ่าตัวอสุจิ (35)

          ผลิตภัณฑ์ครีมของสารสกัดเมล็ดสะเดา ซึ่งได้ผ่านการทดสอบการแพ้กับผิวหนังของกระต่าย และคน และทดสอบความเป็นพิษกึ่งเฉียบพลันในลิงพบว่าปลอดภัย แต่ผลิตภัณฑ์นี้เมื่อใส่เข้าไปทางช่องคลอดของกระต่ายและลิง พบว่าทำให้สัตว์ทั้งสองชนิดเป็นหมัน (41) นอกจากนี้มีรายงานอีกฉบับได้ทำการทดลองในลิงที่ตั้งครรภ์โดยให้กินสารสกัดเมล็ดสะเดา จากนั้นทำการตรวจระดับของฮอร์โมน Chorionic gonadotropin (CG) ในกระแสเลือด และสังเกตการมีเลือดออกที่ช่องคลอด พบว่าสารสกัดจากเมล็ดสะเดาทำให้ระดับ CG และ progesterone ลดลง  ส่วนระดับของชีวเคมีต่างๆ ในเลือดอยู่ในระดับปกติ ต่อมาระดับ CG และ progesterone จะกลับคืนสู่ระดับปกติ แสดงว่าสารสกัดจากเมล็ดสะเดามีฤทธิ์ทำให้แท้งได้อย่างอ่อนๆ (42)

          สารสกัดเมล็ดสะเดา (43) และน้ำมันหอมระเหยจากเมล็ดสะเดา (42, 44) เมื่อป้อนให้กับลิงบาบูนที่ตั้งครรภ์ในขนาด 6 มล./ตัว และในขนาด 0.6 มล./ตัว ให้กับหนูขาวที่ตั้งครรภ์ ทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร พบว่ามีผลทำให้ลิงบาบูนและหนูที่ตั้งครรภ์อยู่แท้งได้ ถ้าให้น้ำมันหอมระเหยแก่หนูขาวทางปากขนาด 4 มล./กก. (45) หรือฉีดเข้าใต้ผิวหนังขนาด 0.2 มล. (46) จะยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน แต่ถ้าฉีดด้วยสารสกัดเอทานอล 90% ขนาด 0.1 มล. ที่ระยะ 6, 12 และ 18 วัน หลังการฉีดครั้งสุดท้าย 24 ชั่วโมง จะพบความผิดปกติของรังไข่และการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของ graafian follicle ซึ่งความผิดปกตินี้ จะเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาที่ให้สารสกัด (47) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกว่าสารสกัดของเมล็ดสะเดาเมื่อป้อนให้กับลิงบาบูน ลิง และหนูที่ตั้งครรภ์ พบว่ามีผลทำให้สัตว์ทดลองแท้งได้ (48) และหากฉีดน้ำมันสะเดาจำนวน 1 มล. เข้าในมดลูกของลิง bonnet ก่อนที่จะฉีดน้ำเชื้อของลิงเพศผู้ พบความสามารถในการยับยั้งการมีลูกได้ถึง 7-12 เดือน ซึ่งผลดังกล่าวกลับสู่ปกติได้โดยลูกที่เกิดจะไม่มีความผิดปกติ และไม่ก่อให้เกิดผลเสียกับการมีรอบเดือนและรังไข่ แต่จะมีผลกับการเกิด antigen ต่อมดลูก (49) น้ำมันหอมระเหยจากสะเดา เมื่อให้เข้าทางช่องคลอดของกระต่ายขนาด 10 และ 20 มก. จะยับยั้งการมีลูกได้ และหากใช้ขนาด 1 มก. ในช่องคลอดของหนูขาว จะยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อนในหนูขาวที่กำลังตั้งครรภ์ (50) มีรายงานว่าเมื่อให้สารสกัดเอทานอล 50% จากส่วนเปลือกต้นขนาด 500 มก./กก. แก่หนูขาวเพศเมียทางปาก เป็นเวลา 10 วัน  จะเกิดการชักนำให้ยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน และการเกิด foetal resorption ในหนูที่ตั้งท้อง (51)และน้ำมันจากเมล็ดสะเดาเมื่อป้อนให้หนูขาวที่ตั้งครรภ์ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในขนาด 2 มล./ล. พบว่ามีผลทำให้หนูตั้งครรภ์ที่ทดลองทั้งหมด 11 ตัว เหลือหนูที่ตั้งครรภ์เพียง 2 ตัว และในระหว่างทำการทดลองหนูที่ตั้งครรภ์เสียชีวิต 6 ตัว และหนู 2 ตัว ที่ตั้งครรภ์ได้คลอดลูกออกมาและลูกหนูเสียชีวิตใน 4 วันต่อมา (52) ในหนูถีบจักรเพศเมียหากได้รับน้ำมันขนาด 10-25% จะมีผลยับยั้งการมีลูกและทำให้ไข่ที่ผสมแล้วมีการพัฒนาที่ผิดปกติด้วย (53) นอกจากนี้น้ำมันจากเมล็ดสะเดาเมื่อใส่เข้าไปทางช่องคลอดของหนูที่ตั้งครรภ์ในขนาด 0.25 มล./ตัว (54) และในขนาด 12.5 มคล./ตัว (55) พบว่าทำให้หนูที่ตั้งครรภ์แท้งได้เช่นกัน และเมื่อฉีดน้ำมันสะเดาเข้าที่คอมดลูกของหนูถีบจักรที่ถูกกระตุ้นให้ไข่สุกแล้ว ขนาด 20 และ 40 มคล. จะสามารถยับยั้งการมีลูกได้ 37 และ 94% ตามลำดับ นอกจากนี้ การทดลองในหลอดทดลองยังพบว่าน้ำมันสะเดาที่ความเข้มข้น 1-50% จะยับยั้งการสร้าง 2-cell embryos และ blastocyst ในขณะที่ความเข้มข้น 100% จะทำให้ไข่เสียสภาพ และไข่ที่ได้รับการผสมแล้วจะเสียสภาพภาพใน 1 ชั่วโมง (56) แต่มีบางรายงานให้ผลตรงกันข้ามว่าสารสกัดน้ำมันสะเดา (Fixed oil) เมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของสัตว์ทดลอง (57) และสารสกัดใบด้วยเอทานอล เมื่อป้อนให้กับหนูขาวที่ตั้งครรภ์ในขนาด 200 มก./กก. ทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร (58) และสารสกัดเมล็ดด้วยเอทานอล:น้ำ (1:1) เมื่อป้อนให้กับหนูที่ตั้งครรภ์ ขนาด 100 มก./กก. ทางปาก พบว่าไม่สามารถทำให้แท้งได้ (59) แต่เมื่อสกัดด้วย น้ำ เฮกเซน และเมทานอล เมื่อทดลองในช่องคลอดของหนูขาว จะพบฤทธิ์ยับยั้งการมีลูก (60) ในขณะที่สารสกัดของเมล็ดแห้งด้วยเมทานอล:น้ำ (1:1) เมื่อให้หนูชนิดเดียวกันกิน พบว่าจะยับยั้งการฝังตัวของตัวอ่อน (61) มีรายงานในคนว่า เมื่อให้น้ำมันจากส่วนเมล็ดขนาด 1.0 มล.ทางช่องคลอด จะยับยั้งการมีลูก (34) และหากฉีดสารสกัดเฮกเซน หรือน้ำมันจากเมล็ดเข้าทาง right uterine horn ของหนู wistar เพศเมียก็พบฤทธิ์ดังกล่าวเช่นกัน (62)

3.  พิษต่อเซลล์

          สารสกัดรากสะเดาด้วยเอทานอล มีฤทธิ์เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาว (lym-phocytic leukemia P388) และสารที่ออกฤทธิ์คือ 1-tigloyl-3-acetyl-11-methyoxymelia-carpinin, 1-acethyl-3-tigloyl-11-methoxymelia carpinin, 29-isobutylsendanin, 12-hydroxya-moorastin และ 29-deacetylsendanin (63) สาร nimbolide ในเมล็ดสะเดาแสดงความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของระบบประสาท ซึ่งความเข้มข้นต่ำสุดที่ยับยั้งเซลล์มะเร็งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 20-200 มคก./มล. (64)

          สารสกัดเปลือกต้นด้วยเมทานอลเมื่อฉีดเข้าทางช่องท้องของหนูถีบจักร ขนาด 100 มก./กก. เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง (Sarcoma 180) (65) และส่วนสกัดโพลีแซคคาไรด์ของเปลือกต้นสะเดา เมื่อทำการทดลองในเซลล์ (cell culture) พบว่าเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง (Sarcoma) เช่นกัน (66) สารสกัดผลด้วยเมทานอลในขนาด 20 มคก./มล. ทำการทดลองในเซลล์ (cell culture) ของ Cells-Raji ไม่พบความเป็นพิษ (67) ในขณะที่สารสกัดผลและใบสะเดาด้วยคลอโรฟอร์ม ทำการทดลองในเซลล์ (cell culture) ของเซลล์มะเร็ง CA-9KB พบว่าขนาดที่มีผลฆ่าเซลล์มะเร็งได้ครึ่งหนึ่ง (ED50) มีค่าน้อยกว่า 20 มคก./มล. (68) สารสกัดเมล็ดสะเดาด้วยน้ำ  เมทานอลในขนาด 100 มคก./มล. พบว่าไม่มีพิษต่อ Cell Vero (69) และสารสกัดเปลือกต้นด้วยเอทานอล:น้ำ (1:1) ทำการทดลองในเซลล์ (cell culture) ต่อเซลล์มะเร็ง CA-9KB พบว่าไม่เป็นพิษต่อเซลล์มะเร็ง โดยมีค่า ED50 มากกว่า 20 มคก./มล. (70)

4.  พิษต่อตัวอ่อน

          น้ำมันจากเมล็ดสะเดา เมื่อป้อนทางสายยางสู่กระเพาะอาหารให้กับหนูที่ตั้งครรภ์ในขนาด  6 มล./กก. (71) หรือเมื่อใส่เข้าไปทางช่องคลอดของหนูที่ตั้งครรภ์ขนาด 0.25 มล./ตัว (54) และขนาด 12.5 มคล./ตัว (55) พบว่าเป็นพิษต่อตัวอ่อน นอกจากนี้ยังมีรายงานว่าน้ำมันสะเดาที่ความเข้มข้น 0.01, 0.05, 0.10, 0.25, 0.50, 0.75, 1.0, 2.50% (v/v) เมื่อใส่เข้าไปทางปากช่องคลอดและในมดลูกของหนูที่ตั้งครรภ์ พบว่ามีผลต่อตัวอ่อน คือทำให้มีการสร้างอวัยวะต่างๆ และการแบ่งตัวของเซลล์เนื้อเยื่อช้าลง (72) แต่บางฉบับรายงานว่าน้ำมันจากเมล็ดสะเดาเมื่อป้อนให้หนูที่ตั้งครรภ์ทางสายยางสู่กระเพาะอาหารในขนาด 2 มล./กก. (52, 71) และ 4 มล./กก. (71) และเมื่อให้ทางช่องคลอดของหนูที่ตั้งครรภ์ในขนาด 0.1 มล./ตัว (52) สารสกัดใบด้วย    อะซีโตนและเอทานอล:น้ำ (1:1) ขนาด 200 มก./กก. ป้อนให้กับหนูที่ตั้งครรภ์ (73) พบว่าไม่มีพิษต่อตัวอ่อน

5.  พิษต่อยีน

          สารสกัดใบด้วยเอทานอล เมื่อป้อนให้กับหนูขาวทั้งสองเพศทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร ขนาด 5, 10, 20 มก. และ 10 ./กก./วัน  (74, 75) พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงต่อการแบ่งตัวของยีน และมีความผิดปกติของโครโมโซม (75) มีการวิจัยต่อจากสารสกัดลักษณะเดียวกัน แต่ทดลองในหนูถีบจักรเพศผู้ขนาด 0.5, 1.0 หรือ 2.0 ก./กก. เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบความเปลี่ยนแปลงของโครโมโซมในกระบวนการ meiotic และ meiosis เป็นผลให้จำนวนของตัวอสุจิลดลง และเพิ่มความถี่ของตัวอสุจิที่มีลักษณะของหัวผิดปกติ (76) นอกจากส่วนใบ ก็ยังมีงานวิจัยว่าสารสกัดจากทุกส่วนของต้นสะเดาซึ่งไม่ระบุขนาด มีความเป็นพิษต่อโครโมโซม (77) และเมื่อเร็วๆ นี้พบว่าสารสกัดจากใบสะเดา มีความเป็นพิษต่อสารพันธุกรรมภายในเซลล์สืบพันธุ์ของหนู (27)

6.  พิษต่อตับและไต

          เมื่อป้อนสารสกัดใบสะเดาด้วยน้ำให้กับกระต่ายทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร ขนาด  2.328 มก./กก. พบว่ามีผลทำให้ระดับ alkaline phosphatase, glutamate oxalate-transaminase และ glutamate pyruvate-transaminase ในกระแสเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (78) และเมื่อฉีดสารสกัดเมล็ดสะเดาด้วย 90% เอทานอลเข้าทางชั้นใต้ผิวหนังหนูเพศเมียขนาด 0.1 มล./ตัว พบว่าปริมาณกลัยโคเจนในตับและไตลดลง แต่เพิ่มขึ้นที่ต่อมหมวกไต ส่วนปริมาณโปรตีนและ alkaline phosphatase เพิ่มขึ้นที่ต่อมหมวกไตแต่ลดลงที่ไต และเซลล์ตับมีสีคล้ำ บวม และตายเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยง และไตถูกทำลาย (79) นอกจากนี้ยังมีการทดลองในไก่อายุ 7-35 วัน โดยผสมผลสุกของสะเดาลงในอาหารขนาด 2, 5 และ 10% ของอาหาร (80) และผสมใบสะเดา 2 และ 5% ลงในอาหาร (81) กินเป็นเวลา 2 สัปดาห์ พบว่ามีผลทำให้ไก่เกิดภาวะซีด และค่า LDH (lactate dehydrogenase), GOT (glutamic oxaloacetic transminase), ALP (alkaline phosphatase) ในเลือดเพิ่มขึ้น ส่วนโปรตีนในกระแสเลือดลดลง เซลล์ตับและไตถูกทำลาย

7.  พิษต่อหัวใจ

          เมื่อฉีดสารสกัดใบด้วยเอทานอล:น้ำ (1:1) เข้าทางหลอดเลือดดำของสุนัข พบว่าไม่เป็นพิษต่อหัวใจ (82)

8.  ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

          สารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์ของสะเดา ขนาด 0.1 มล./จานเพาะเชื้อ พบว่าไม่มีผลต่อการก่อกลายพันธุ์ของเชื้อ Salmonella typhimurium TA98, TA100, TA1535 และ TA1537 (83) ในจานเพาะเชื้อ สารสกัดด้วยอะซีโตนและ DMSO ขนาด 200, 500 มก./จานเพาะเชื้อ (84) และน้ำมันจากเมล็ดสะเดา (85) ทำการทดสอบในจานเพาะเชื้อ พบว่าไม่มีผลต่อการก่อกลายพันธุ์ของเชื้อ S. typhimurium TA98 และ TA100

9.  ฤทธิ์ก่อมะเร็ง

          สาร azadirachtin จากสะเดา สามารถเหนี่ยวนำและก่อให้เกิดมะเร็ง และเป็นพิษต่อยีนของคนได้ (86)

 

เอกสารอ้างอิง

1.      Okpanyi SN, Ezeukwu GC.  Anti-inflammatory and antipyretic activities of Azadirachta indica.  Planta Med 1981;41:34-39.

2.      Thompson EB, Anderson CC.  Cardiovascular effects of Azadirachta indica extract.  J Pharm Sci 1978;67:1476-8.

3.      Tiwary RS.  Neem leaf poisoning.  J Ass Phys India 1985;33(12):817.

4.      Tandan SK, Chandra S, Gupta S, Tripathi HC, Al J.  Pharmacologocial effects of Azadirachta indica leaves.  Fitoterapia 1990;61(1):75.

5.      Khattak,SG,Gilani SN, Ikram M.  Antipyretic studies on some indigenous Pakistani medicinal plants.  J Ethnopharmacol 1985;14(1):45-51.

6.      Chattopadhyay RR.  Possible biochemical mode of anti-inflammatory action of Azadirachta indica A.Juss. in rats.  Indian J Exp Biol 1998;36(4):418-20.

7.      Chattopadhyay RR, Sarkar SK, Ganguly S, Basu TK.  A comparative evaluation of some anti-inflammatory agents of plant origin.  Fitoterapia 1994;65(2):146-8.

8.      Ali BH.  The toxicity of Azadirachta indica leaves in goats and guinea pigs.  Vet Hum Toxicol 1987;29(1):16-9.

9.      Prakash AO, Mishra A, Metha H, Mathur R.  Effect of ethanolic extract of Azadirachta Indica seeds on organs in female rats.  Fitoterapia1991;62(2):99-105.

10.  Dhawan BN, Dubey MP, Mehrotra BN, Rastogi RP, Tandon JS.  Screening of Indian plants for biological activity. Part IX.  Indian J Exp Biol 1980;18:594-606.

11.  Tandan SK, Gupta S, Chandra S, Lal J.  Safety evaluation of Azadirachta indica seed oil, a herbal wound dressing agent.  Fitoterapia 1995;66(1):69-72.

12.  Chinnasamy N, Harishankar N, Kumar PU, Rukmini C.  Toxicological studies on debitterized neem oil (Azadirachta indica).  Food Chem Toxicol 1993;31(4):297-301.

13.  Talwar GP, Pal R, Singh O, et al.  Safety of intrauterine administration of purified neem seed oil (Pranemma vilci) in women & effect of its co-administration with the heterospecies dimer birth control vaccine on antibody response to human chorionic gonadotropin.  Indian J Med Res 1995;102(2):66-70.

14.  Sivashanmugam R.  Neem leaf poisoning.  Reply from the authors.  J Assoc Physicious India 1985;33(12):817.

15.  Gandhi M, Lal R, Sankaranarayanan A, Banerjee K, Sharma PL.  Acute toxicity study of the oil from Azadirachta indica seed (neem oil).  J Ethnopharmacol 1988;23(1):39-51.

16.  Gowda SK, Verma SV, Elangovan AV, Singh SD.  Neem (Azadirachta indica) kernel meal in the diet of white leghorn layers.  Br Poult Sci 1998;39(5):648-52.

17.  Wan MT, Watt RG, Isman MB, Strub R.  Evalution of the acute toxicity to juvenile pacific northwest salmon of azadirachtin, neem extract, and neem-based products. Bull Environ Contam Toxicol 1998;56(3):432-9.

18.  Anjaneyulu GVSR, Mishra KD.  Acute toxicity of “Neemax” (neem seed powder) to the freshwater fish, Puntius ticto (HAM.).  Pollut Res 1999;18(4):391-4.

19.  Azmi MA, Jahan S, Naqvi SNH, Tabassum R, Jahan M, Khan MF.  Toxic effect of tetranortriterpenoids (neem products) and deltamethrin (pyrethroid) against Cyprinus carpio (common carp).  Proc Pak Congr Zool 1997;17:171-7.

20.  Rao PU.  Chemical composition and biological evaluation of debitterized and defatted neem (Azadirachta indica) seed kernel cake.  J Amer Oil Chem Soc 1978;64(9):1348-51.

21.  Vijjan VK, Tripathi HC, Parihar NS.  A note on the toxicity of neem (Azadirachta indica) seed cake in sheep.  J Environ Biol 1982;3(2):47-52.

22.  Hare WR, Schutzman H, Lee BR, Knight MW.  Chinaberry poisoning in two dogs.  J Amer Vet Med Ass 1977;210(11):1638-40.

23.  Abraham Z, Bhakuni SD, Garg HS, Goel AK, Mehrotra BN, Patnaik GK.  Screening of Indian plants for biological activity. Part XII.  Indian J Exp Biol 1986;24(1986):48-68.

24.  Mokkhasmit M, Swatdimongkol K, Satrawaha P.  Study on toxicity of Thai medicinal plants.  Bull Dept Med Sci 1971;12(2/4):36-65.

25.  Bhakuni DS, Dhar ML,Dhar MM, Dhawan BN, Gupta B, Srimali RC.  Screening of Indian plants for biological activity. Part III.  Indian J Exp Biol 1971;9:91.

26.  Parshad O, Gardner MT, The TL, Williams LAD, Fletcher CK.  Antifertility effects of aqueous and steroidal extracts of neem leaf (Azadirachta indica) in male Wistar rats.  Phytother Res 1997;11(2):168-70.

27.  Khan PK, Awasthy KS. Cytogenetic toxicity of neem. Food Chem Toxicol 2003; 41(10):1325-8.

28.  Aladakatti RH, Nazeer AR, Ahmed M, Ghosesawar MG.  Sperm parameters changes induced by Azadirachta indica in albino rats.  J Basic Clin Physiol Pharmacol 2001;12(1):69-76.

29.  Shaikh PD, Manivannan B, Pathan KM, Kasturi M, Ahamed RN.  Antispermatic activity of Azadirachta indica leaves in albino rats.  Curr Sci 1993;64(9):688-9.

30.  Joshi AR, Ahamed RN, Pathan KM, Manivannan B.  Effect of Azadirachta indica leaves on testis and its recovery in albino rats.  Indian J Exp Biol 1996;34(11):1091-4. 

31.  Upadhyay S, Dhawan S, Talwar GP.  Antifertility effects of neem (Azadirachta indica) oil in male rats by single intra-vas administration: an alternate approach to vasectomy.  J Androl 1993;14(4):275-81. 

32.  Choudhary DN, Singh JN, Verma SK, Singh BP.  Antifertility effects of leaf extracts of some plants in male rats.  Indian J Exp Biol 1990;28(8):714-6.

33.  Riar SS, Devakumar C, Ilavazhagan G, et al.  Volatile fraction of neem oil as a spermicide.  Contraception 1990;42(4):479-87.

34.  Sinha KC, Riar SS, Tiwary RS, et al.  Neem oil as a vaginal contraceptive.  Indian J Med Res 1984;79:131-6. 

35.  Sinha KC, Riar SS.  Neem oil - an ideal contraceptive.  Biol Mem 1985;10(1/2):107-14. 

36.  Bardhan J, Riar SS, Sawhney RC, Kain AK, Thomas P, Ilavazhagan G.  Neem oil - a fertility controlling agent in rheusus monkey.  Indian J Physiol Pharmacol 1991;35(4):278-80. 

37.  Deshpande VY, Mendulkar KN, Sadre NL.  Male antifertility activity of Azadirachta indica in mice.  J Postgrad Med 1980;26(3):167-70.

38.  Deshpande VY, Mendulkar KN, Sadre NL.  Antifertility activity of Azadirachta indica in male mice.  Abstr 4th Asian Symp Med Plants Spices, Bangkok, September 15-19, 1980:64.

39.  Garg S, Doncel G, Chabra S, Upadhyay SN, Talwar GP.  Synergistic spermicidal activity of neem seed extract, reetha saponins and quinine hydrochloride. Contraception 1994;50(2):185-90.

40.  Sharma SK, Sairam M, Llavazhagan G, Devendra K, Shivaji SS, Selvamurthy W. Mechanism of action of nim-76: a novel vaginal contraceptive from neem oil. Contraception 1996;54(6):373-8.

41.  Garg S, Taluja V, Upadhyay SN, Talwar GP.  Studies on the contraceptive efficacy of Praneem polyherbal cream.  Contraception 1993;48(6):591-6.

42.  Mukher Jee S, Lohiya NK, Pal R, Sharma MG, Talwar GP.  Purified neem (Azadirachta indica) seed extracts (Praneem) abrogate pregnancy in primates.  Contraception 1996;53:375-8.

43.  Talwar GP, Raghuvanshi P, Misra R, Mukherjee S, Shah S.  Plant immunomodu-lators for termination of unwanted pregnancy and for contraception and reproductive health.  Immunol Cell Biol 1997;75(2):190-2.

44.  Mukher Jee S, Talwar GP.  Termination of pregnancy in rodents by oral admistration of Praneem, a purified neem seed extract.  Amer J Reprod Ummunol 1996;35(1):51-6.

45.  Lal R, Ghandhi M, Sankaranarayanan A, Mathur VS, Sharma PL.  Antifertility effect of Azadirachta indica oil administered per os to female albino rats on selected days of pregnancy.  Fitoterapia 1987;58(4):239-42.

46.  Twwari RK, Mathur R, Prakash AO.  Post-coital antifertility effect of neem oil in female albino rats.  Icrs Med Sci 1986;14(10):1005-6.

47.  Prakash AO, Mishra A, Mathur R.  Studies on the reproductive toxicity due to extract of Azadirachta indica (seeds) in adult cyclic female rats.  Indian Drugs 1989;28(4):163-9.

48.  Talwar GP, Shah S, Mukherjee S, Chabra R.  Induced termination of pregnancy by purified extracts of Azadirachta indica (neem): mechanism involed.  Amer J Reprod Immunol 1997;37(6):485-91.

49.  Upadhyay S, Dhawan S, Sharma MG,Talwar GP.  Long-term contraceptive effects of intrauterine neem treatment (IUNT) in bonnet monkeys: an alternate to intrauterine contraceptive devices (IUCD).  Contraception 1994;49(2):141-9.

50.  Riar SS, Devakumar C, Sawhney RC, et al.  Antifertility activity of volatile fraction of neem oil.  Contraception 1991;44(3):319-26.

51.  Bhargava V, Prakash AO.  Effect of a herbal preparation from neem bark on early and late pregnancy in rats.  Indian drugs 2000;37(4):178-81.

52.  Lal R, Sankaranayanan A, Mathur VS, Sharma PL.  Antifertility effect of neem oil in female albino rats by the intravaginal & oral routes.  Indian J Med Res 1986;83:89-92.

53.  Juneja SC, Williams RS.  Mouse sperm-egg interaction in vitro in the presence of neem oil.  Life Sci 1993;53(18):279-284.

54.  Riar SS, Bardhan J, Thomas P, Kain AK, Parshad R.  Mechanism of antifertility action of neem oil.  Indian J Med Res 1988;88(4):339-42.

55.  Sinha KC, Riar SS, Bardhan J, Thomas P, Kain AK, Jain RK.  Anti-implantation effect of neem oil.  Indian J Med Res 1984;80(6):708-10.

56.  Juneja SC, Williams RS.  Inhibition of in vivo and in vitro fertilization in mouse by neem oil: potential pre coital contraceptive.  Adv Contracept Delivery Syst 1994;10(3/4):169-77.

57.  Kamboj VP.  A review of Indian medicinal plants with interceptive activity.  Indian J Med Res 1988;4:336-55.

58.  Runnebaum B, Rabe T, Kiesel L, Prakash AO.  Biological evaluation of some medicinal plant extracts for contraceptive efficacy in females.  Future aspects in contraception. Part 2. Female contraception.  Boston:MTP Press, LTD, 1984:115-8.

59.  Dhawan BN, Dubey MP, Mehrotra BN, et al.  Screening of Indian plants for biological activity. Part IX.  Indian J Exp biol 1980;18:594-606.

60.  Garg S, Talwar GP, Upadhyay SN.  Immunocontraceptive activity guided fractiona- tion and characterization of active constituents of neem (Azadirachta indica) seed extracts.  J Ethnopharmacol 1998;60(3):235-46.

61.  Mukherjee S, Garg S, Talwar GP.  Early post implanation contraceptive effects of purified fraction of neem (Azadirachta indica) seeds, given orally in rats: possible mechanisms involved.  J Ethnopharmacol 1999;67(3):287-96.

62.  Garg S, Talwar GP,Upadhyay SN.  Comparison of extraction procedures on the immunocontraceptive activity of neem seed extracts.  J Ethnopharmacol 1994;44:87-92.

63.  Itokawa H, Qiao Z-S, Hirobe C, Takeya K.  Cytotoxic limonoids and tetranortriter-penoids from Melia azedarach.  Chem Pharm Bull 1995;43(7):1171-5. 

64.  Cohen E, Quistad GB, Jefferies PR, Casida JE.  Nimbolide is the principal cytotoxic component of neem-seed insecticide preparations.  Pestic Sci 1996;48(2):135-40.

65.  Shimizu M, Sudo T, Nomura T.  China tree bark extract with antineoplastic action.  Patent: Swiss 650,404, 1985:12pp.

66.  Shimizu M, Takai M, Inoue K, Takeda T, Ogiwara Y.  Antitumor polysaccharides from Melia azadirachta bark extracts and their purification.  Patent: Japan Kokai Tokkyo Koho 01 275,602, 1989:9pp.

67.  Murakami A, Kondo A, Nakamura Y, Ohigashi H, Koshimizu K.  Possible anti-tumor promoting properties of edible plants from Thailand, and identification of an active constitute, cardamonin, of Boesenbergia pandurata.  Biosci Biotech Biochem 1993;57(11):1971-3.

68.  Anon.  Unpublished data, National Cancer Institute.  Nat Cancer Inst Central Files 1976.

69.  Hattori M, Nakabayashi T, Lim YA, et al.  Inhibitory effects of various Ayurvedic and Panamanian medicinal plants on the infection of Herpes simplex virus-1 in vitro and in vivo.  Phytother Res 1995;9(4):270-6.

70.  Bhakuni DS, Dhar ML, Dhar MM, Dhawan BN, Gupta B, Srimali RC.  Screening of Indian plants for biological activity. Part III.  Indian J Exp biol 1971;9:91.

71.  Khare AK, Srivastava MC, Sharma MK, Tewari JP.  Antifertility activity of neem oil rabbits and rats.  Probe 1984;23(2):90-4.

72.  Juneja SC, William RS.  Neem oil inhibits in vitro development of mouse embryos.  Adv Contracept Delivery Syst 1994;10(3/4):179-89.

73.  Prakash AO.  Potentialities of some indigenous plants for antifertility.  Int J crude Drug Res 1986;24(1):19-24.

74.  Awasthy KS, Chaurasia OP, Sinha SP.  Prolonged murine genotoxic effects of crude extract from neem.  Phytother Res 1999;13(1):81-3.

75.  Awasthy KS, Chaurasia OP, Sinha.  Prolonged murine genotoxic effects of crude extract in rabbits.  Fitoterapia 1991;62(2):99-105.

76.  Awasthy KS.  Genotoxicity of a crude leaf extract of neem in male germ cells of mice.  Cytobios 2001;106(suppl 2):151-64.

77.  Krishna Reddy M, Chari N, Kokate CK, Sathaiah G, Vidyavati.  Mitodepressive & clastogenic activity of crude drug combinations on the somatic cells of Foeniculum vulgare Mill-I.  East Pharm 1984;27(319):125-7.

78.  Akah PA, Onuogu OE.  Hepatotoxic effect of Azadirachta indica leaf extract in rabbits.  Fitoterapia 1992;63(4):311-9.

79.  Prakash AO, Mishra A, Metha H, Mathur R.  Effect of ethanolic extract of Azadirachta indica seeds on organs in female rats.  Fitoterapia 1991;62(2):99-105.

80.  Ibrahim IA, Omer SA, Ibrahim FH, et al.  Experimental Azadirachta indica toxicosis in chicks.  Vet Hum Toxicol 1992;34(3):221-4.

81.  Ibrahim IA, Khalid SA, Omer SA, et al.  On toxicolgy of Azadirachta indica leaves.  J Ethnopharmacol 1992;35(3):167-73.

82.  Mokkhasmit M, Ngarmwathana W, Sawasdimongkol K, Permphiphat U.  Pharmaco-logical evaluation of Thai medicinal plants. (continued).  J Med Ass Thailand 1971;54(7):490-504.

83.  Riazuddin S, Malik MM, Nasim A.  Mutagenicity testing of some medicinal herbs.  Eviron Molec mutagen 1987;10(2):141-8.

84.  Jongen WMF, Koeman JH.  Mutagenicity testing of two tropical plant materials with pesticidal potential in Salmonella typhimurium : Phytolacca dodecandra berries and oil from seeds of Azadirachta indica.  Environ Mutagen 1983;5:687-94.

85.  Polasa K, Rukmini C.  Mutagenicity tests of cashew nut shell liquid, rice-bran oil and other vegetable oils using the Salmonella typhimurium microsome system.  Food Chem Toxicol 1987;25(10):763-6.

86.  Rosenkranz HS, Klopman G.  An examination of the potential “genotoxic” carcino- genicity of a biopesticide derived from the neem tree.  Environ Mol Mutagen 1995;26(3):255-60.