แมงลัก

 

ชื่อวิทยาศาสตร์            Ocimum basilicum L. forma citratum Back

วงศ์                              Labiatae

ชื่อพ้อง                         -

ชื่ออื่นๆ                        ก้อมก้อขาว มังลัก

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

1.   การทดสอบความเป็นพิษ

          เมื่อฉีดสารสกัดเมทานอล (80%) จากส่วนเหนือดินสด ขนาด 2 ก./กก.เข้าทางกระเพาะอาหารของหนูถีบจักร (1) หรือฉีดผงจากส่วนเหนือดินแห้ง ขนาด 6 ก./กก. เข้าทางกระเพาะอาหารหนูขาว (2) พบว่าสารสกัดและส่วนของพืชที่ใช้ทดสอบไม่มีพิษต่อสัตว์ทดลอง มีการศึกษาพิษแบบแบบพลัน (acute toxicity test) ของแมงลักในหนูถีบจักรและหนูขาว โดยป้อนเมล็ดแมงลักขนาด 300, 500 และ 1,000 มก./กก. ครั้งเดียว ผลปรากฏว่าไม่มีสัตว์ทดลองตายใน 24 ชม. และ 1 สัปดาห์ ส่วนการศึกษาพิษแบบชั่วระยะเวลาหนึ่ง (subchronic toxicity test) และพิษแบบติดต่อกันระยะยาว (chronic toxicity test) ทำการทดสอบโดยให้เมล็ดแมงลักขนาดเท่าเดิม วันละครั้ง นาน 1 ปี พบว่าไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เกิดขึ้นกับสัตว์ทดลอง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับ Metamucilâและกลุ่มควบคุม (3) อีกการทดลองหนึ่งมีการศึกษาความเป็นพิษของเมล็ดแมงลักในสัตว์ทดลอง การศึกษาแบบพิษเฉียบพลัน (acute toxicity test) หาค่า LD50 โดยใช้แมงลักขนาด 0.25, 0.5, 1 และ 2 ก./กก. ละลายให้พองตัวในน้ำ ป้อนให้กับหนูขาวทั้ง 2 เพศ กลุ่มละ 6 ตัว พบว่าไม่มีสัตว์ทดลองตายเลยภายใน 24 ชม. และรอจนถึง 7 วัน จึงเพิ่มขนาดเป็น 5 ก./กก. ซึ่งถือว่าเป็นขนาดที่สูงสุดในพิกัดการทดสอบ ผลปรากฏว่าไม่มีสัตว์ทดลองตายใน 24 ชม. และ 7 วัน  การศึกษาแบบติดต่อกันช่วงระยะหนึ่ง (subchronic toxicity test) ใช้แมงลักขนาด 1 ก./กก. ติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน สัตว์ทดลองที่ใช้ทดสอบทั้งตัวผู้และตัวเมีย ได้แก่ กระต่ายกลุ่มละ 5 ตัว หนูขาวกลุ่มละ 6 ตัว และแมวกลุ่มละ 3 ตัว สังเกตอาการทั่วไป ปรากฏว่าสัตว์ทดลองทุกตัวอยู่ในสภาพปกติ และแบบติดต่อกันระยะยาว (chronic toxicity test) ใช้แมงลักขนาด 0.25, 0.5, 1 และ 2 ก./กก. ป้อนแก่หนูขาวตัวผู้และตัวเมียกลุ่มละ 6 ตัว ป้อนติดต่อกันเป็นเวลา 12 สัปดาห์ จากการตรวจพยาธิสภาพชิ้นเนื้อเยื่อของตับ ลำไส้เล็ก และลำไส้ใหญ่ ไม่พบความผิดปกติ เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุม (4) เมื่อให้สารสกัดด้วยเอทานอลต่อน้ำ (1:1) จากส่วนใบเข้าทางกระเพาะอาหารของหนูถีบจักรพบว่ามีค่า LD50 956.5 มก./กก. (5)

2.      พิษต่อเซลล์

เมื่อทดสอบสารสกัดเอทานอล (70%) จากใบแห้ง หรือจากส่วนเหนือดินแห้งกับ cells-MT-4 โดยมีค่า IC50 มากกว่า 1,000 มคก./มล. พบว่าไม่มีฤทธิ์ (6) การทดสอบสารสกัดเมทานอลจากใบสดกับ Macropharge cell line raw 264.7 โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 200 มคก./มล. (7) หรือเมื่อใช้สารสกัดนี้ทดสอบกับ cells-Raji โดยใช้สารสกัดความเข้มข้น 20 มคก./มล. (8) พบว่าสารสกัดดังกล่าวไม่มีผลต่อเซลล์ทั้ง 2 ชนิด ส่วนการทดสอบน้ำสกัดจากใบแห้ง ซึ่งมี IC50 เท่ากับ 125 มคก./มล. หรือสารสกัดนี้จากส่วนเหนือดินแห้ง ซึ่งมี  IC50 กับ cells-MT-4  พบว่าผลการทดสอบไม่แน่นอนทั้ง 2 แบบ (6)  นอกจากนี้การใช้สารสกัดเอทิลอะซี-เตทจากส่วนเหนือดิน ซึ่งมี IC50 เท่ากับ 100 มคก./มล. กับ Hela-S3 cells ก็ให้ผลการทดสอบไม่แน่นอนเช่นเดียวกัน (9)

3.      ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

มีการทดสอบสารสกัดคลอโรฟอร์ม:เมทานอล (2:1) จากส่วนเหนือดิน โดยใช้ความเข้มข้น 100 มก./จานเพาะเชื้อ กับ Salmonella typhimurium TA98 และ TA100 ในจานเพาะเชื้อ พบว่าสารสกัดนี้ไม่มีฤทธิ์ (10) และเมื่อเปลี่ยนมาใช้สารสกัดเมทานอล (80%) จากส่วนเหนือดินสดกับ S. typhimurium TM677 ในจานเพาะเชื้อ พบว่าไม่มีฤทธิ์เช่นกัน (1) เมื่อทดสอบน้ำสกัดจากส่วนเหนือดิน ความเข้มข้น 100 มก./จานเพาะเชื้อ กับ cells-Pig-Kidney-LLC-PK-1 และ cells-trophoblastic-placenta ในจานเพาะเชื้อ พบว่าสารสกัดนี้ไม่มีผลต่อเซลล์ดังกล่าว (10) นอกจากนี้เมื่อใช้น้ำสกัดจากใบสด หรือการใช้น้ำต้มจากใบสด ความเข้มข้น 0.5 มล./แผ่น ทดสอบกับ Bacillus subtilis (Rec+) และ H-45 (Rec-) พบว่าสารสกัดดังกล่าวไม่มีฤทธิ์ (11) และเมื่อเปลี่ยนมาใช้น้ำคั้นจากใบสด ทดสอบกับเซลล์ดังกล่าวโดยใช้ความเข้มข้นต่างๆ กัน พบว่าให้ผลการทดสอบเช่นเดิม (11)

4.      พิษต่อการตั้งครรภ์

เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอล (100%) จากใบแห้ง ขนาด 200 มก./กก. เข้าทางกระเพาะอาหารหนูขาวท้อง พบว่าสารสกัดดังกล่าวไม่มีฤทธิ์ทำให้แท้ง (12) และเมื่อฉีดสารสกัดนี้ในขนาดเท่าเดิม เข้าทางกระเพาะอาหารหนูขาวเพศเมีย พบว่าสารสกัดนี้ไม่มีฤทธิ์ต้านการฝังตัวของตัวอ่อน (12) นอกจากนี้มีการทดลองให้สารสกัดเอทานอล (50%) และสารสกัดปิโตรเลียมอีเทอร์จากใบแห้ง โดยใช้ความเข้มข้น 150 และ 100 มก./กก. ตามลำดับ ทางกระเพาะอาหารหนูขาวที่ท้อง พบว่าสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ไม่มีพิษต่อตัวอ่อน (13)

 

เอกสารอ้างอิง

1.         Hussain RA, Poveda LJ, Pezzuto JM, Soejarto DD, Kinghorn AD.  Sweetening agents of plant origin: phenylpropanoid constituents of seven sweet-tasting plants.  Econ Bot 1990;44(2):174-82. 

2.         Akhtar MS, Munir M.  Evaluation of the gastric antilucerogenic effects of Solanum nigrum, Brassica oleracea and Ocimum basilicum in rats.  J Ethnopharmacol 1989;27(1/2):163-76. 

3.         Taesotikul W, Smitasiri Y, Pootakham K.  Studies of hairy Basil seeds as a bulk laxative II. Laxative activity and toxicity studies.  The Forth Princess Chulabhorn International Science Congress. Chemical in the 21st Century, Bangkok, Thailand, 28 Nov-2 Dec 1999.

4.         อโนชา อุทัยพัฒน์ อรุณี สาระยา จันทรา ชัยพานิช สุทิน ศิริไพรวัน ปลื้มจิตต์ โรจนพันธ์.  การศึกษาความป็นพิษของเมล็ดแมงลัก.  การสัมมนาเรื่องการพัฒนาการใช้ยาสมุนไพรทางคลินิกและการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคเขตร้อน, ศาลายา, 26-27 ก.พ. 2530. 

5.         Parra AL, Yhebra RS, Sardinas IG, et al.  Comparative study of the assay of Artemia salina L and the estimate of the medium lethal dose (LD50 value) in mice, to determine oral acute toxicity of plant extracts.  Phytomedicine 2001;8(5):395-400.

6.         Yamasaki K, Nakano M, Kawathata T, et al.  Anti-HIV-1 activity of herbs in Labiatae.  Biol Pharm Bull 1998;21(8):829-33.  

7.         Kim OK, Murakami A, Nakamura Y, Ohigashi H.   Screening of edible Japanese plants for nitric oxide generation inhibitory activities in raw 264.7 cells.  Cancer Lett 1998;125(1/2):199-207.

8.         Murakami A, Kondo A, Nakamura Y, Ohigashi H, Koshimizu K.  Possible anti-tumor promoting properties of edible plants from Thailand, and identification of an active constituent, cardamonin, of Boesenbergia pandurata.  Biosci Biotech Biochem 1993;57(11):1971-3. 

9.         Takatsuki S, Narui T, Ekimoto H, Abuki H, Niijima K, Okuyama T.  Studies on cytotoxic activity of animal and plant crude drugs.  Natural Med 1996;50(2):145-57.  

10.     Rockwell P, Raw I. A mutagenic screening of various herbs, spices, and food additives. Nutr Cancer 1979;1:10-5.

11.     Ungsurungsie M, Suthienkul O, Paovalo CMutagenicity screening of popular Thai spices.  Food Chem Toxicol1982;20:527-30. 

12.     Runnebaum B, Rabe T, Kiesel L, Prakash AO.  Biological evaluation of some medicinal plant extracts for contraceptive efficacy in females.  Future Aspects in Contraception. Part 2. Female Contraception. Boston:MTP Press, Ltd., 1984:115-28.

13.     Prakash AO, Gupta RB, Mathur R..  Effect of oral administration of forty-two indigenous plant extracts on early and late pregnancy in albino rats.  Probe 1978; 17(4):315-23.