ทานตะวัน





ชื่อวิทยาศาสตร์         Helianthus annuus L.

วงศ์                         Compositae

ชื่อพ้อง                         -

ชื่ออื่นๆ                        ชอนตะวัน บัวทอง Sunflower, Sunchoke

สารออกฤทธิ์                triterpene (1)

 

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับแก้ไอ

ฤทธิ์ลดการอักเสบ

เมื่อฉีดสารสกัดเอทานอลจากทั้งต้นของทานตะวันเข้าใต้ผิวหนังของหนูขาวเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย carrageenan โดยใช้สารสกัดขนาด 100 มก./กก. พบว่ามีฤทธิ์ (2) และเมื่อให้สารสกัดเอทานอล (80%) ขนาด 100 มก./กก. จากดอกแห้งทางกระเพาะอาหารหนูขาวเพศผู้ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบด้วย carrageenan พบว่าสารสกัดนี้มีฤทธิ์อ่อน (3) และเมื่อป้อนน้ำมันจากเมล็ดขนาด 1 ./กก. หรือ 5 ./กก. ให้กับหนูขาวเพศเมียที่ถูกเหนี่ยว นำให้เกิดการอักเสบด้วย dextran ก็พบว่ามีฤทธิ์อ่อนเช่นกัน (4) แต่การทาสารสกัดเมทานอลจากดอกแห้งในขนาด 1 มก./หู ให้กับหนูถีบจักรเพศเมีย พบว่าสารสกัดดังกล่าวมีฤทธิ์แรง (5) นอกจากนี้มีการศึกษาส่วนประกอบของส่วนสกัด triterpene alcohol ของดอกพืชในวงศ์ Compositae 15 species โดยมี helianol เป็นส่วนประกอบหลักของส่วนสกัดจากดอกทานตะวันและดอกของพืชชนิดอื่นๆ ที่นำมาทดสอบ และเมื่อทำการทดสอบส่วนประกอบต่างๆ ของส่วนสกัด triterpene alcohol พบว่า มีฤทธิ์ต้านการอักเสบเมื่อทำการทดสอบในหนูถีบจักรที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบที่หูด้วย 12-O-tetradecanoylphorbol-13-acetate โดยมีค่า ID50 เท่ากับ 0.1-0.8 มก./หู  (1) และอีกการทดลองหนึ่ง ทำการศึกษาสารสำคัญ dihydroxy และ trihydroxy triterpenes ชนิดต่างๆ ที่แยกได้จากส่วนไขมันของสารสกัดจากดอกของพืชในวงศ์ Compositae พบว่าสารสำคัญเหล่านี้มีฤทธิ์ต้านการอักเสบที่เกิดจากการเหนี่ยวนำของ 12-O-tetradecanoylphorbol-13-acetate ในหนูถีบจักร ได้ค่า ID50 เท่ากับ 0.03-0.2 มก./หู (6)

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

            1. การทดสอบความเป็นพิษ

ฉีดสารสกัดเอทานอลจากทั้งต้นทานตะวันเข้าทางช่องท้องหนูถีบจักร พบว่ามี LD50 มากกว่า 1 ./กก. (7) และเมื่อทดลองเปลี่ยนมาใช้สารสกัดเอทานอล (90%) จากใบแห้งแทน พบว่ามีค่า LD50 เท่ากับ 1 ./กก. (8) การทดลองผสมน้ำมันจากเมล็ดทานตะวันลงในอาหาร ในขนาด 2 ./กก. ให้กับปลา Salmo salar พบว่าเป็นพิษต่อหัวใจ (9) และถ้าผสมน้ำมันจากเมล็ดทานตะวันลงในอาหารที่ให้กับกระต่ายทั้งเพศผู้และเพศเมีย ก็พบว่าน้ำมันจากเมล็ดมีพิษ (10) การทดลองให้น้ำมันจากดอกทานตะวัน 15 . ที่ถูกทำให้ร้อนแล้วผสมลงในอาหารของหนูขาว พบว่ามีผลให้ลูกหนูขาวตายเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับหนูขาวที่ได้รับน้ำมันดอกทานตะวันที่ไม่ได้ผ่านความร้อน น้ำมันดอกทานตะวันที่ผ่านความร้อนมีผลให้น้ำหนักตับเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเกิด hyperplasia แต่ไม่เกิด cellular hypertrophy ในขณะที่น้ำมันที่ไม่ผ่านความร้อนไม่มีพิษใดๆ (11) เมื่อทดลองให้ความร้อนกับน้ำมันดอกทานตะวันที่อุณหภูมิสูง 185-200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 0, 25 หรือ 100 ชม. พบว่าความร้อนจะไปเพิ่มปริมาณกรดไขมันอิ่มตัวและลดปริมาณกรดไขมันไม่อิ่มตัว ไตรกลีเซอไรด์ชนิดมีขั้ว และเมทิลเอสเตอร์เพิ่มขึ้น ในขณะที่ส่วนไม่มีขั้วมีปริมาณลดลง และที่เวลา 100 ชม. tocopherols หายไป ดังนั้นการใช้น้ำมันดอกทานตะวันที่ร้อนจะทำให้เกิดพิษ (12) มีการทดลองป้อนอาหารให้กับหนูขาวซึ่งอาหารประกอบด้วยน้ำมันดอกทานตะวัน 15% น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันถั่วลิสง หรือ gingilly oil เป็นเวลา 6 เดือน พบว่าน้ำมันดอกทานตะวันมีผลเพิ่มระดับไขมันในเลือด phospholipids, cholesterols ได้มากกว่า gingilly oil ระดับไขมันในตับในกลุ่มที่ได้รับน้ำมันดอกทานตะวันแบบไม่ปอกเปลือก (undecorticated) จะสูงกว่ากลุ่มอื่นๆ และกลุ่มที่ได้รับน้ำมันจากดอกทานตะวันมีการคั่งของโลหิต การไหลซึมของซีรัมและเกิดการเปลี่ยนแปลงในตับด้วย (13) เมื่อทำการทดสอบ oleozon (ozonized sunflower oil) ซึ่งเป็นยาฆ่าเชื้อเฉพาะที่กับหนูขาวเพื่อดูพิษต่อผิวหนังเฉียบพลัน พบว่าขนาดที่ใช้ทาผิวหนัง 2,000 มก./กก. ไม่ทำให้สัตว์ทดลองตาย แต่ทำให้เกิด erythema และบวม ในบริเวณที่ทา ส่วน systemic effect ไม่ได้ทำการทดสอบ แต่พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงของ coordination และ motor activity ในสัตว์ทดลองเพศผู้ หลังจากใช้ oleozon แล้ว 24 ชม. (14) นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยของน้ำมันจากดอกทานตะวันที่ถูก oxidize โดยพ่นอากาศร้อน 98 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 48 ชั่วโมง พบว่ามีความเป็นพิษต่อตับ ซึ่งสังเกตได้จากการที่ระดับของ thiobarbituric acid-reactive substances (TBARS) เพิ่มขึ้น รวมทั้งเพิ่มปริมาณของ arachidonic acid ด้วย (15)

2. พิษต่อเซลล์

มีการทดสอบสารสกัดเอทานอล (50%) จากทั้งต้นทานตะวันกับเซลล์ CA-9KB โดยมี ED50 มากกว่า 20 มคก./มล. พบว่าไม่มีพิษ (7) แต่การทดสอบน้ำมันจากเมล็ดความเข้มข้น 300 มคก./มล. กับ Human Colon Cell Line HT29 พบว่ามีพิษ (16)

3. ฤทธิ์ทำให้แท้ง

เมื่อผสมน้ำมันจากเมล็ดในอาหารให้กับหนูขาวที่ท้อง (ไม่ทราบขนาด) พบว่าน้ำมันจากเมล็ดทานตะวันมีผลทำให้แท้ง (10)

4. ฤทธิ์ก่อกลายพันธุ์

ทดลองป้อนอาหารที่มีไขมันทั้งต่ำและสูงให้กับหนูขาว เป็นเวลา 4 สัปดาห์ แล้วนำส่วนสกัดจาก postmitochondria (S9) ซึ่งมีคุณสมบัติเหนี่ยวนำการก่อกลายพันธุ์ในแบคทีเรีย โดยนำส่วนสกัดดังกล่าวมาทดสอบกับ Salmonella typhimurium TA98 จากผลการทดสอบพบว่าส่วนสกัดจากหนูขาวที่ได้รับอาหารที่มีไขมันสูงมีฤทธิ์เหนี่ยวนำการก่อกลายพันธุ์มากกว่าส่วนสกัดที่ได้จากหนูขาวที่ได้รับอาหารไขมันต่ำ ทั้งนี้ขึ้นกับชนิดของไขมันด้วย (17)

 

จากผลการทดลองพบเรื่องลดการอักเสบเฉพาะส่วนของใบและดอก ไม่มีรายงานจากเมล็ด หรือน้ำมัน ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้ใช้แก้ไอ

 

เอกสารอ้างอิง

1.   Akihisa T, Yasukawa K, Oinuma H, et al.  Triterpene alcohols from the flowers of Compositae and their anti-inflammatory effects.  Phytochemistry 1996;43(6):1255-60. 

2.   Benoit PS, Fong HHS, Svoboda GH, Farnsworth NR.  Biological and phytochemical evaluation of plants. XIV. Antiinflammatory evaluation of 163 species of plants.  Lloydia 1976;39(2/3):160-71.

3.   Mascolo N, Autore G, Capasso F, Menghini A, Fasulo MP.  Biological screening of Italian medicinal plants for anti-inflammatory activity.  Phytother Res 1987;1(1):28-31.

4.   Ottlecz A, Dekov E, Koltai M, Minker E.  Antiinflammatory activity of various agents producing hyperlipemia in rats.  Pharmacology 1974;11:346.

5.   Yasukawa K, Akihisa T, Inoue Y, Tamura T, Yamanouchi S, Takido M.  Inhibitory effect of the methanol extracts from Compositae plants on 12-O-tetradecanoyl-phorbol-13-acetate-induced ear oedema in mice.  Phytother Res 1998;12(7):484-7. 

6.   Yasukawa K, Akihisa T, Oinuma H, et al.  Inhibitory effect of di- and trihydroxy triterpenes from the flowers of Compositae on 12-O-tetradecanoylphorbol-13-acetate-induced inflammation in mice.  Bio Pharm Bull 1996;19(10):1329-31. 

7.   Dhar MI, Dhar MN, Dhawan BN, Mehrotra BN, Srimal RC, Tandon JS.  Screening of Indian plants for biological activity. Part IV.  Indian J Exp Biol 1973;11:43-54.

8.   Woo WS, Lee EB, Han BH.  Biological evaluation of Korean medicinal plants. III.  Arch Pharm Res 1979;2:127-31.

9.   Bell JG, Dick JR, Mc Vicar AH, Sargent JR, Thompson KD.  Dietary sunflower, linseed and fish oils affect phospholipid fatty acid composition, development of cardiac lesions, phospholipase activity and eicosanoid production in Atlantic salmon (Salmo salar).  Prostaglandins Leukot Essent Fatty Acids 1993;49(3):665-73.

10.  Starikova MP.  Oxidized lipids in animal feed.  Zhivotnovodstvo 1970;32(1):78.  

11.  Coquet B, Guyot D, Fouillet X, Rouaud JL.  Physiopathological studies on rats using heated peanut, palm, soybean, and sunflower oils.  Actes Congr Mond-Soc Int Etude Corps Gras 13th 1976 Symp 1996;3:63-74.

12.  Dobarganes MC, Perez-Camino MC, Gutierrez Gonzalez-Quijano R, Repetto M.  Heated oils. Chronic toxicity studies. I. Chemical evaluation of the samples.  Grasas Aceites (Seville) 1985;36(1):30-4.

13.  Pushpamma P, Sarojini G, Rajalakshmi K.  Liver and serum lipids-effect of dietary oils.  Fats Oils Relat Food Prod Their Prep Symp 1976:99-102.

14.  Martinez Sanchez G, Leon Fernadez OS, Rodriguez Torres C, Merino Garcia N, Sam Rodriguez S, Cedeno Palenzuela M, Acebo Merida A.  Studies on the acute dermal toxicity of ozonized oil ”Oleozon” in rats.  Rev Cenic, Cienc Biol 1997;28(1):35-8.

15.  Ammouche A, Rouaki F, Bitam A, et al.  Effect of ingestion of thermally oxidized sunflower oil on the fatty acid composition and antioxidant enzymes of rat liver and brain in development.  Ann Nutr Metab 2002;46(6):268-75

16.  Salerno JW, Smith DE.  The use of sesame oil and other vegetable oils in the inhibition of human colon cancer growth in vitro.  Anticancer Res 1991;11(1):209-15.

17.  Alldrick Anton J, Rowland Lan R, Lake Brian G, Flynn J.  High levels of dietary fat: alteration of hepatic promutagen activation in the rat.  JNCI, J Natl Cancer Inst 1987;79(2):269-72.