มะขามป้อม

ชื่อวิทยาศาสตร์            Phyllanthus emblica L.

วงศ์                        Euphorbiaceae

ชื่อพ้อง                    Emblica officinalis Gaertn.

ชื่ออื่นๆ                        กันโตด กำทวด มั่งลู่ สันยาส่า Emblic, Emblic myrobalan, Indian gooseberry, Malacca tree, Myrobalan

สารออกฤทธิ์            emblicanin A (2,3-di-O-galloyl-4,6-(S)-hexahydroxydiphenoyl-2-keto-glucono-d-lactone),

emblicanin B (2,3,4,6-bis-(S)-hexahydroxydiphe- noyl-2-keto-glucone-d-lactone) (1-3),

pedunculagin, punigluconin (3)

                            

ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาที่เกี่ยวกับยาอายุวัฒนะ  

            1. ฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น

             สารสกัดจากผลมะขามป้อม มีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่น โดยสารสกัดอัลกอฮอล์ 80% มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ค่า ED50 เท่ากับ 1.5 มคก./มล. มีฤทธิ์ใกล้เคียงกับวิตามินซีซึ่งมีค่า ED50 เท่ากับ 1.4 มคก./มล. และออกฤทธิ์ดีกว่าสารสกัดอัลกอฮอล์ 40% (4) สารสกัดด้วยน้ำ ไม่ระบุขนาด ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation และป้องกันการทำลายเอนไซม์ superoxide dismutase ในตับหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย g-radiation (5) สารสกัดเมทานอล ความเข้มข้น 74 มคก./มล. ยับยั้งการเกิด lipid peroxidation ในตับหนูขาวได้ 50% และความเข้มข้น 155.5 มคก./มล. จะยับยั้งการจับกับ hydroxyl radical ซึ่งเกิดจาก Fe3+/ascorbate/EDTA/H2O2 system ได้ 50% (6) สารสกัดเอทานอล 90% ไม่ระบุขนาด ยับยั้งการเพิ่มขึ้นของอนุมูลอิสระในเซลล์ตับหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยโครเมี่ยม มีผลปกป้องเซลล์โดยไปยับยั้งการทำให้เซลล์เป็นพิษและทำให้เซลล์ตาย ป้องกันการรั่วออกของ lactate dehydrogenase จากเซลล์ และยับยั้งการทำลายดีเอ็นเอ (7) เมื่อป้อนสารสกัดผลด้วยบิวทานอล ขนาด 100 มก./กก. ให้กับหนูขาวที่เหนี่ยวนำให้เกิดแผลด้วย indomethacin (20 มก./กก.) เป็นเวลาติดต่อกัน 10 วัน พบว่าสามารถลดระดับ malondialdehyde (MDA) ซึ่งเป็นสารที่เกิดจากการออกซิเดชั่นของไขมัน (lipid peroxidation) (8) สารสกัดผลด้วยเมทานอล เมื่อทำการทดสอบกับ phospholipid liposomes ในสมองของวัว โดยใช้สาร 2-amidinopropane เป็นตัวเหนี่ยวนำให้เกิด lipid peroxidation พบว่าสามารถต้านการเกิดออกซิเดชั่นของไขมัน และต้านอนุมูลอิสระ โดยค่าความเข้มข้นที่สามารถยับยั้งได้ครึ่งหนึ่ง (IC50) มีค่าเท่ากับ 13 มคก./มล. (9) สาร emblicanin A และ emblicanin B ในผลมะขามป้อม สามารถปกป้องเซลล์เม็ดเลือดแดง โดยต้านการเกิดออกซิเดชั่น (1) และสาร emblicanin A และ B ในขนาด 10, 20 และ 50 มก./กก. ป้อนให้หนูขาวกินนานติดต่อกัน 10 วัน จากนั้นฉีด ferrous sulphate ขนาด 30 มก./กก. เข้าทางช่องท้อง พบว่าการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในเซลล์ตับลดลง และค่า alanine aminotransferase (ALAT), aspartate aminotransferase (ASAT) และ lactate dehydrogenase (LDH) ในกระแสเลือดมีค่าลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ให้ ferrous sulphate เพียงอย่างเดียว พบว่าความเป็นพิษที่ตับคือ มีการเกิด lipid peroxidation สูง และค่า ALAT, ASAT, LDH ในกระแสเลือดสูงมาก โดยมีกลุ่มควบคุมที่ให้ยา silymarin 20 มก./กก. (ซึ่งเป็นยาที่ใช้ปกป้องการถูกทำลายของเซลล์ตับ) ร่วมกับ ferrous sulphate พบว่า emblicanin A และ B ในขนาด 50 มก./กก. สามารถปกป้องการถูกทำลายของเซลล์ตับ และต้านการเกิด hepatic lipid peroxidation ได้ผลใกล้เคียงกับยา silymarin (2) ส่วนสกัดแทนนินในผลมะขามป้อม เมื่อป้อนให้หนูขาวทางสายยางสู่กระเพาะอาหาร ขนาด 10 มก./กก. สามารถต้านการเกิดออกซิเดชั่นของไขมันในสมองได้ (10) เมื่อให้สารแทนนอยด์ ซึ่งมีสารออกฤทธิ์คือ emblicanin A, emblicanin B, punigluconin และ pedunculagin ขนาด 5 และ 10 มก./กก. ฉีดเข้าช่องท้องหนูขาว จะต้านการเกิดออกซิเดชั่นในสมองหนูขาวส่วน frontal cortical และ striatal โดยเพิ่ม superoxide dismutase, catalase และ glutathione peroxidase ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีหน้าที่จับกับอนุมูลอิสระ และลดการเกิด lipid peroxidation เมื่อให้สารดังกล่าววันละ 1 ครั้ง นาน 7 วัน (3) เมื่อให้หนูที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยโมเดล IRI กินสารแทนนอยด์ ขนาด 50 มก./กก. วันละ 2 ครั้ง นาน 14 วัน ระดับเอนไซม์ superoxide dismutase, catalase และ glutathione peroxidase จะเพิ่มขึ้น และลดการเกิด lipid peroxidation (11) สารสกัดผลด้วยเอทานอล ไม่ระบุขนาด สามารถต้านการเกิดออกซิเดชั่นใน cardiac myoblast cell line H9C2 (12)

             สารสกัดมาตรฐานของมะขามป้อม (Standardize extract) เมื่อนำเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว พบว่าสามารถปกป้องการทำลายของผิวหนังจากอนุมูลอิสระต่างๆ หรือจากโลหะหนัก นอกจากนี้ยังมีผลช่วยชะลอความแก่ และปกป้องการถูกทำลายของผิวหนังจากแสงแดด แสดงให้เห็นว่าสารสกัดมะขามป้อม มีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่นของเซลล์ผิวหนังได้ (13) สารสกัดมะขามป้อม ขนาด 100 มก./กก. น้ำหนักตัว เมื่อป้อนให้กับหนูถีบจักรกินติดต่อกันเป็นเวลา 10 วัน และทำการทดลองร่วมกับยา cycloposphamide (CP) ซึ่งเป็นยาต้านมะเร็ง ซึ่งจะมีผลทำให้เกิดความเป็นพิษที่ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบโลหิต การก่อกลายพันธุ์ และความเป็นพิษต่อระบบอื่นๆ พบว่าสารสกัดมะขามป้อมมีฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่นที่ตับและไตในหนูปกติ แต่ถ้าหากหนูได้รับสาร CP ขนาด 50 มก./กก. หลังจากที่ได้สารสกัดมะขามป้อม พบว่าสารสกัดมะขามป้อมสามารถต้านการเกิดออกซิเดชั่นที่ไตได้ แต่ไม่สามารถปกป้องการถูกทำลายของตับได้ มีผลให้ระดับของ glutathione ในกระแสเลือดเพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ (P<0.001) (14)

          ในการทดลองฤทธิ์ต้านการเกิดออกซิเดชั่นของยาตำรับ พบว่าเมื่อให้หนูขาวเพศผู้ที่เป็นเบาหวานกินยาตำรับแขวนลอย (มีมะขามป้อมเป็นส่วนประกอบ) ขนาด 1./กก./วัน นาน 9 สัปดาห์ ระดับ lipid peroxide ในซีรัมจะลดลงมากกว่า 50% เมื่อเปรียบเทียบกับหนูที่เป็นเบาหวานแต่ไม่ได้รับการรักษา (15) ยาตำรับ Geriforte (มีมะขามป้อมเป็นส่วนประกอบ) แขวนลอยในน้ำเกลือ ความเข้มข้น 50 มก./มล. จะลดการเกิดอนุมูลอิสระ, malondialdehyde และ lipid peroxidation นอกจากนี้ยังมีผลปกป้องเซลล์ โดยทำให้เกิดการแบ่งตัวของลิมโฟซัยท์ และลดการทำลายดีเอ็นเอในเซลล์ลิมโฟซัยท์ของหนูขาวที่ถูกเหนี่ยวนำโดย tert-BHP (16) สารสกัดเมทานอล 50% จากตำรับยา Chyavanprash (มีมะขามป้อมเป็นส่วนประกอบ) ไม่ระบุขนาด สามารถจับกับ DPPH ได้ 85% (17)

2.   ฤทธิ์เพิ่มภูมิต้านทาน

            ดูรายละเอียดในเพิ่มภูมิต้านทาน

 

หลักฐานความเป็นพิษและการทดสอบความเป็นพิษ

          ดูรายละเอียดในแก้ไอ  

           

จากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ข้างต้นจะเห็นว่า มะขามป้อมมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มภูมิคุ้มกัน อาจช่วยผู้ป่วยเอดส์ได้ในเรื่องสุขภาพ นอกจากนี้ยังอาจช่วยลดการอักเสบในปากได้อีกด้วย น่าจะมีการศึกษาอย่างละเอียดและทดลองทางคลินิก โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีการควบคุมมาตรฐาน

 

เอกสารอ้างอิง

1.      Scartezzini P, Speroni E.  Review on some plants of Indian traditional medicine with antioxidant activity.  J Ethnopharmacol 2000;71:23-43.

2.      Bhattacharya A, Kumar M, Ghosal S, Bhattacharya SK.  Effect of bioactive tannoid principles of Emblica officinalis on iron-induced hepatic toxicity in rats.  Phytomedicine 2000;7(2):173-5.

3.      Bhattacharya A, Chatterjee A, Ghosal S, Bhattacharya SK.  Antioxidant activity of active tannoid principles of Emblica officinalis (Amla).  Indian J Exp Biol 1999;37(7):676-80.

4.      นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ทรงศรี แก้วสุวรรณ.  ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของสมุนไพรไทยและไวน์สมุนไพร.  วารสารสมุนไพร 2544:8(2):8-13.

5.      Khopde SM, Priyadarsini KI, Mohan H, et al.  Characterizing the antioxidant activity of Amla (Phyllanthus emblica) extract.  Curr Sci 2001;81(2):185-90.

6.      Sabu MC, Kuttan R.  Anti-diabetic activity of medicinal plants and its relationship with their antioxidant property.  J Ethnopharmacol 2002;81:155-60.

7.      Sai Ram M, Neetu D, Yogesh B, et al.  Cyto-protective and immunomodulating properties of Amla (Emblica officinalis) on lymphocytes: an in-vitro study.  J Ethnopharmacol 2002;81:5-10.

8.      Bandyopadhyay SK, Pakrashi SC, Pakrashi A.  The role of antioxidant acitivity of Phyllanthus emblica fruits on prevention from indomethacin induced gastric ulcer.  J Ethnopharmacol 2000;70:171-6.

9.      Sunil Kumar KC, Muller K.  Medicinal plants from Nepal. II. Evaluation as inhibitors of lipid peroxidation in biological membranes.  J Ethnopharmacol 1999;64:135-9.

10.  Bhattacharya A, Ghosal S, Bhattacharya SK.  Antioxidant activity of tannoid principles of Emblica officinalis (AMLA) in chronic stress induced changes in rat brain.  Indian J Exp Biol 2000;38(9):877-80.

11.  Bhattacharya SK, Bhattacharya A, Sairam K, Ghosal S.  Effect of bioactive tannoid principles of Emblica officinalis on ischemia-reperfusion-induced oxidative stress in rat heart.  Phytomedicine 2002;9:171-4.

12.  Wattanapitayakul SK, Herunsalee A, Chularojmontri L, Niumsakul S, Charuchongkolwongse S.  Herbal antioxidants attenuate doxorubicin-induced.  The 3rd World Congress on Medicinal Plant and Aromatic Plants for Human Welfare, 3-7 Feb 2003, Chiang Mai, Thailand:399.

13.  Chaudhuri RK.  Emblica cascading antioxidant: a novel natural skin care ingredient.  Skin Pharmacol Appl Skin Physiol 2002;15(5):374-80.

14.  Haque R, Bin-Hafeez B, Ahmad I, Parvez S, Pandez S, Raisuddin S.  Protective effects of Emblica officinalis Gaertn. in cyclophosphamide-treated mice.  Hum Exp Toxicol 2001;20(12):643-50.

15.  Kishan AP, Ajitha M, Rajanarayana K.  Antidiabetic, antihyperlipidemic and free radical scavenging activities of an Ayurvedic medicine.  Indian Drugs 2000;37(3):130-2.

16.  Bansal A, Sairam M, Prasad D, Sharma SK, Ilavazhagan G, Kumar D, Selvamurthy W.  Cytoprotective and immunomodulatory properties of Geriforte, a herbomineral preparation, in lymphocytes.  Phytomedicine 2001; 8(6):438-44.

17.  Rastogi S, Govindarajan R, Shukla M, Mehrotra S, Pushpangadan P.  Radical scavenging activity of “Chyavanprash” - a well known Ayurvedic Rasayana.  The 3rd World Congress on Medicinal Plant and Aromatic Plants for Human Welfare, 3-7 Feb 2003, Chiang Mai, Thailand:509.