ผลของรากปลาไหลเผือกต่อภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ

การทดสอบผลของรากจากต้นปลาไหลเผือก (Eurycoma longifolia  Jack) ในหนูแรทเพศผู้ซึ่งมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ โดยแบ่งหนูตามการได้รับรากปลาไหลเผือกเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 (acute) กินผงรากปลาไหลเผือก 250, 500 และ 1000 มก./กก. กลุ่มที่ 2 (subacute) กินผงรากปลาไหลเผือกวันละ 500 มก./กก. เป็นเวลา 6 วัน และกลุ่มที่ 3 (subchronic) กินผงรากปลาไหลเผือกวันละ 500 มก./กก. เป็นเวลา 12 วัน พบว่าหนูในกลุ่มที่ 1 ซึ่งกินผงรากปลาไหลเผือก 500 และ 1000 มก./กก และหนูในกลุ่มที่ 2 ซึ่งมีภาวะขาดความต้องการทางเพศ (sexually sluggish rat) มีระยะเวลาในการหลั่งน้ำเชื้อ (ejaculation latencies) ลดลง แต่อัตราการเข้าผสมพันธุ์ (mounting) เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ช่วงเวลาหลังการหลั่งน้ำเชื้อ (post-ejaculatory interval) ของหนูในกลุ่มที่ 2 ยังลดลงด้วย และสำหรับหนูในกลุ่มที่ 2 และ 3 ซึ่งมีภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ (impotent rat) พบว่าอัตราการเข้าผสมพันธุ์และการหลั่งน้ำเชื้อเพิ่มขึ้น และเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับผงรากปลาไหลเผือก พบว่าหนูในกลุ่มที่ 2 มีระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงขึ้น จากผลการทดลองทำให้สามารถสรุปได้ว่า รากปลาไหลเผือกมีส่วนช่วยปรับปรุงพฤติกรรมทางเพศให้ดีขึ้น แต่ไม่ช่วยในด้านเพิ่มความต้องการทางเพศเมื่อใช้แบบ acute หรือ subacute ซึ่งผลดังกล่าว อาจเป็นมาจากการที่ระดับของฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูงขึ้น

J Ethnopharmacol 2009;126:308 – 13